วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวความคิดของการตลาดระหว่างประเทศ โดยนาย ทศพล คำวังแคน 50132793003 A1

แนวความคิดของการตลาดระหว่างประเทศ
แนวความคิดทางด้านการตลาด (Marketing Concept) หมายถึง จุดเน้นทางการตลาดที่ธุรธิจนำมาพิจารณาใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ ทั้งนี้ แนวความคิดทางการตลาดจะเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา ตลอดจนสถานการณ์ทางการณ์ตลาดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ เป็นต้น ในอดีตแนวความคิดทางการตลาด มุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ การใช้ความพยายามในการปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือ กำไรจากยอดขาย
ปัจจุบันแนวความคิดทางการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการแข่งขันและปัจจัยต่างๆ จึงเป็นที่มาของแนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ มุ่งเน้นที่ผู้บริโภค โดยยึดหลักว่า “ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้เมื่อการตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้” ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงใช้ความพยายามในการจัดการส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix : 4 P’s) ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ มุ่งเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพอใจสูงสุด (Consumer Satisfaction) และสร้างกำไรให้แก่ธุรกิจ
แนวความคิดทางการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing Concept) หมายถึงการทำตลาดของธุรกิจโดยมุ่งเน้นผู้บริโภคในตลาดระดับโลก ดังนั้น ธุรกิจต้องให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจ และการแข่งขันในตลาดระดับโลกเช่นกัน ขณะเดียวกันวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจก็จะเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ กำไรของธุรกิจจะต้องรวมถึงกำไรของผู้ถือหุ้น ความพอใจของพนักงานภายในองค์กร ลูกค้า สังคม และรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ ธุรกิจจะต้องมีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ได้อย่างเหมาะ



แนวความคิดทางการตลาด
จุดเน้นทางการตลาด
วัตถุประสงค์ทางการตลาด
วิธีทางการตลาด
แนวความคิดแบบเก่า
ผลิตภัณฑ์
กำไรจากยอดขาย
เน้นปริมาณการขาย
แนวความคิดแบบใหม่
ผู้บริโภค
กำไรจากความพอใจของลูกค้า
ส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม
แนวความคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้บริโภค, สภาพแวดล้อมทางการตลาด,การแข่งขัน
กำไรจากความพอใจของผู้ถือหุ้น, พนักงานองค์กร, ลูกค้า, สังคม และรัฐบาล
การบริหารพันธมิตร ตระหนักถึงคุณค่าที่ผู้บริโภคได้รับ

แนวความคิดทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ของตลาดระหว่างประเทศ

ในปี 1990 แนวความคิดทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เปลี่ยนจุดสนใจจากการตลาดมุ่งที่ผลิตภัณฑ์และผู้บริโภค มาสู่การตลาดมุ่งผู้บริโภค สภาพแวดล้อมภายนอก และการแข่งขัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสูง ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอดจนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดระหว่างประเทศ กำไรของธุรกิจจะต้องมาจากความพอใจของผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า สังคมและรัฐบาล วิธีการทางการตลาดมุ่งเน้นการจัดการพันธมิตร (Strategic Partnerships) และคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Customer Value)
คุณค่าในสายตาของลูกค้า (Customer Value) หมายถึง ผลประโยชน์ส่วนเกินที่ลูกค้าได้รับจากผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ลูกค้าจ่ายไปทั้งในรูปของตัวเงินและค่าเสียโอกาสต่างๆ ซึ่ง เรียกว่า ต้นทุน ผู้บริโภคได้รับความพอใจ สามารถแสดงได้โดยสมการ ดังนี้ (ประยุกต์จาก ศิริวรรณและคณะ ,2541)
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาว่าลูกค้าได้รับคุณค่าตามที่ต้องการหรือไม่นั้น จะพิจารณาจากความรู้สึกว่าคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้คำนวณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการตลาดยุคปัจจุบันต่างพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในสายตาของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ไม่ว่าธุรกิจจะเป็นขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ตาม สามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจในหลักการข้างต้นนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น