วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากตลาดระหว่างประเทศ โดยนายทศพล คำวังแคน A1 50132793003

ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากตลาดระหว่างประเทศ
ประโยชน์จากตลาดระหว่างประเทศสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ประโยชน์ที่ธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจะเป็นผู้ได้รับ ซึ่งนับได้ว่า เป็นประโยชน์ทั้งทางตรง และส่วนที่สอง คือ ประโยชน์ที่ประเทศแม่ของธุรกิจที่ไปดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศจะได้รับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์ทางอ้อม ประโยชน์จากตลาดระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
1. ความอยู่รอดของธุรกิจ
ในโลกของธุรกิจสินค้าทุกประเภทมีวงจรชีวิตที่เรียกว่าวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life-
Cycle) ซึ่งจะเริ่มต้นจากระยะการเริ่มเข้าสู่ตลาด ระยะเจริญเติบโต ระยะได้รับความนิยมสูงสุด (อิ่มตัว) ระยะเริ่มเสื่อมความนิยม (ตกต่ำ) และระยะที่สินค้าไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป ดังนั้นเมื่อตลาดภายในประเทศถึงจุดอิ่มตัว สินค้าก็จะไม่ได้รับความนิยมจากตลาดอีกต่อไปตามกฎของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
2. ประโยชน์จากยอดขายและกำไร
ธุรกิจที่ก้าวไปยังตลาดระหว่างประเทศจะมีโอกาสในการเพิ่มยอดขายและกำไรอย่าง
มหาศาล เนื่องจากในตลาดระหว่างประเทศเป็นตลาดที่มีผู้บริโภคจำนวนมาก เช่น ตลาดประเทศจีนซึ่งมีประชากรกว่า 1,270 ล้านคน นอกจากนี้ตลาดระหว่างประเทศบางตลาดเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงมีมูลค่ามหาศาล
3. การประหยัดจากขนาด (Economic of Scale)
การที่ธุรกิจเลือกที่จะไปทำธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ ในกรณีที่ธุรกิจมีกำลังการผลิตสูงกว่าปริมาณความต้องการภายในประเทศ ธุรกิจก็ยังสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต และสามารถนำสินค้าที่เหลือ เกินความต้องการภายในประเทศออกไปจำหน่ายสู่ตลาดระหว่างประเทศ การผลิตที่เต็มกำลังการผลิตจะทำให้ตันทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง โดยเฉพาะต้นทุนทางด้านการบริหารและต้นทุนคงที่
4. ความประหยัดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า (Economic of Scope)
การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศจะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรที่ธุรกิจและไม่สามารถใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้เกิดความประหยัดจากการใช้ทรัพยากรที่มีร่วมกัน เช่น การใช้ช่องทางการจำหน่ายสินค้าชนิดใหม่ในตลาดระหว่างประเทศด้วยการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายร่วมกับสินค้าเดิมที่ธุรกิจเคยใช้
5. ตลาดระหว่างประเทศช่วยลดผลกระทบของยอดจำหน่ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงรสนิยม
ความต้องการของสินค้าในตลาดภายในประเทศอาจจะได้รับผลกระทบจากฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเช่น การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือฤดูกาลอาจมีผลทำให้ความต้องการของตลาดหรือยอดจำหน่ายของสินค้าลดลง ดังนั้นถ้าธุรกิจสามารถนำสินค้าไปจำหน่ายยังตลาดระหว่างประเทศในช่วงที่ความต้องการของตลาดภายในประเทศลดลงจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุดการผลิตหรืดลดกำลังการผลิต
6. ตลาดระหว่างประเทศช่วยให้ธุกิจหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงภายในประเทศ
ธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศสามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของตลาดภายในประเทศได้ ปัจจุบันธุรกิจแทบทุกประเภทจะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทุกธุรกิจจะมีคู่แข่งจากตลาดระหว่างประเทศเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ การมองหาตลาดระหว่างประเทศตลาดใหม่ๆ สำหรับสินค้า คือ โอกาสรอดโอกาสหนึ่งของธุรกิจ
7. ตลาดระหว่างประเทศช่วยส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี
การก้าวไปทำธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจะเป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อชิงความได้เปรียบจากการแข่งขัน เนื่องจากในตลาดระหว่างประเทศเป็นตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง ดังนั้นระบบเทคโนโลยีที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องติดตั้งและพัฒนา ประกอบด้วย ระบบเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นระบบที่สนับสนุนให้การติดต่อสื่อสารของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศทำได้อย่างรวดร็วและมีประสิทธิภาพเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดระหว่างประเทศจะกระตุ้นให้ธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และพัฒนาระบบสนับสนุนต่างๆ ให้มีลักษณะเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของตลาดระหว่างประเทศ
8. ตลาดระหว่างประเทศช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การจำหน่ายสินค้าในตลาดระหว่างประเทศจะเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจต้องพัฒนาคุณภาพ
ของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในด้านการแข่งขันและเพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าจากประเทศที่ใช้มาตรฐานทางด้านคุณภาพสินค้าในการกีดกันสินค้าจากต่างประเทศ ดังนั้นธุรกิจที่ก้าวไปสู่ตลากระหว่างประเทศจะต้องพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้กับธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้า
9. ตลาดระหว่างประเทศจะกระตุ้นให้ธุรกิจพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานและกระบวนการผลิต
เนื่องจากตลาดระหว่างประเทศเป็นตลาดที่มีการตั้งกำแพงทางการค้าและการกีดกันทาง
การค้า โดยอาศัยระบบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ เช่น ระบบ ISO 9002 ระบบ ISO 14000 (มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม) และในปัจจุบันระบบ ISO 18000 (มาตรฐานด้านจริยธรรม) มาตรฐาน HACCP สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร จึงทำให้ธุรกิจที่ต้องการไปจำหน่ายสินค้าในตลาดระหว่างประเทศ จึงต้องพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการบริหารจัดการให้ผ่านตามมาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้า ซึ่งถ้ามองอีกด้านหนึ่งการที่ธุรกิจพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ธุรกิจไม่สร้างปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและไม่สร้งปัญหาให้กับสังคมส่วนรวม นอกจากจะเป็นการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถไปดำเนินการยังตลาดระหว่างประเทศได้แล้วยังสามารถสร้างภาพพจน์ให้ธุรกิจได้อีกวิธีหนึ่ง
10. ตลาดระหว่างประเทศช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี
ธุรกิจที่ดำเนินการทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศ ธุรกิจจะต้องเป็นธุรกิจที่มีภาพ
ลักษณ์ที่ดี เป็นธุรกิจที่มีภาพพจน์ที่ดี สินค้ามีมาจรฐาน มีการบริหารจัดการที่เป็นสากล มักได้รับการยอมรับ ดังนั้นตลาดระหว่างประเทศจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ
11. การตลาดระหว่างประเทศส่งเสริมให้ธุรกิจเกิดการเรียนรู้
ตลาดระหว่างประเทศจะช่วยสร้างความหลากหลายให้กับธุรกิจตลอดจนเป็นแหล่งที่ธุรกิจ
สามารถเรียนรู้ได้มากกว่าตลาดภายในประเทศ เนื่องจากตลาดระหว่างประเทศมีความแตกต่าง ดังนั้นสูตรสำเร็จในการดำเนินการทางการตลาดในระหว่างประเทศ คือ ความลงตัวระหว่างการผสมผสานลักษณะเด่นของสินค้ากับลักษณะความแตกต่างของตลาด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความสำเร็จของการสร้างสินค้าที่ผสมผสานระหว่างความเป็นมาตรฐานกับการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม นอกจากนี้ตลาดระหว่างประเทศยังเป็นแหล่งที่ธุรกิจจะได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ภาษา วิถีชาวบ้าน ศาสนา พฤติกรรมผู้บริโภค รสนิยมรวมถึงค่านิยมที่มีความแตกต่างกันไปในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ซึ่งความรู้เหล่านี้ธุรกิจสามารถนำมาพัฒนาเป็นจุดแข็งให้กับธุรกิจได้ อย่างเช่น บริษัทโคคาโคลาเป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้และการนำความแตกต่างมาผสมผสานกับความเป็นมาตรฐานของสินค้า การปรับปรุงที่เหมาะสมดังกล่าวทำให้โคคาโคลาประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ

ประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ โดยนายทศพล คำวังแคน A1

ประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
ธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศสามรถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแบ่งจากรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การแบ่งตามขอบเขตการดำเนินธุรกิจ และการแบ่งตามแนวคิดปรัชญาในการดำเนินการตลาดระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้
1. การแบ่งประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจากรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.1 บริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้า (Import & Export Company)
1.2 บริษัทแฟรนไชน์ (Franchise) ในตลาดระหว่างประเทศ
1.3 สิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ (Licensing) ในตลาดระหว่างประเทศ
1.4 บริษัทร่วมทุน (Joint Venture)
1.5 บริษัทลงทุนตั้งธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ (wholly owned subsidiaries)
1.6 การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliance or Strategic Partnership)

2. การแบ่งประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจากขอบเขตการดำเนินธุรกิจ
2.1 บริษัทภายในประเทศ (Domestic or National Companies)
บริษัทภายในประเทศ คือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพียงแค่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศที่บริษัทตั้งอยู่บริษัทภายในประเทศจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศมาผลิตหรือเพิ่มมูลค่าเพิ่มมูลค่าให้เป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งบริษัทในตลาดระหว่างประเทศโดยส่วนใหญ่ จะเริ่มด้วยการเป็นบริษัทภายในประเทศก่อนแล้วจึงพัฒนาไปเป็นบริษัทระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น บริษัทโคคา โคลา สหรัฐอเมริกา
2.2 บริษัทระหว่างประเทศ (Intertional Companies)
บริษัทระหว่างประเทศ คือ บริษัทภายในประเทศที่ดำเนินธุรกิจในตลาดภายในประเทศได้ระยะหนึ่ง ธุรกิจก็ตัดสินใจที่จะก้าวข้ามพรมแดน ขยายตลาดไปดำเนินธุรกิจยังตลาดต่างประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โดยการใช้ประสบการณ์ ทรัพยากร กลยุทธ์ทางการตลาดละสินค้าเดิมๆ เหมือนที่ธุรกิจเคยใช้และประสบความสำเร็จในตลาดภายในประเทศ
2.3 บริษัทนานาชาติ (Multinational Companies)
บริษัทนานาชาติ คือ บริษัทนานาชาติ คือ บริษัทที่มีวิวัฒนาการจากบริษัท ระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติจะเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทระหว่างประเทศได้ดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศได้ระยะหนึ่ง บริษัทระหว่างประเทศจะเข้าใจถึงความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ตลอดจนบริษัทจะเรียนรู้ถึงวิธีที่จะเรียนรู้ถึงวิธีปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางการตลาดหรือปรับปรุงสินค้าเพื่อความสำเร็จและเมื่อบริษัทระหว่างประเทศสามารถเรียนรู้ปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง บริษัทระหว่างประเทศก็จะวิวัฒนาการสู่การเป็นนานาชาติ
บริษัทนานาชาติจะดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศหลายๆ ตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างกันไปในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง เพื่อความเหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาดได้อย่างถูกต้อง
2.4 บริษัทระดับโลก (Global Companies)
บริษัทระดับโลก คือ บริษัทที่มีวิวัฒนาการพัฒนามาจากบริษัทนานาชาติ บริษัทระดับโลก
จะเป็นบริษัทที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบจากต้นทุนในการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ บริษัทระดับโลกจะมีรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์กลางหรือจากบริษัทแม่ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์การบริหารทรัพยากร ตลอดจนการตัดสินใจเชิงนโยบายต่างๆ จะถูกกำหนดมาโดยบริษัทแม่ ซึ่งเรียกว่า การบริหารแบบการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง (Head Quarter) โดยบริษัทระดับโลกจะเลือกทำเลการผลิตสินค้าในประเทศที่มีความเหมาะสม โดยทำเลที่ตั้งที่บริษัทระดับโลกนั้นต้องสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัทในด้านต่างๆ เช่น ประโยชน์ด้านต้นทุน ประโยชน์ด้านการขนส่ง ประโยชน์ด้านทรัพยากรและวัตถุดิบ ประโยชน์จากากรเป็นศูนย์กลาง (Hub) หรือประโยชน์จาการเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพเป็นต้น
ข้อได้เปรียบของตลาดระดับโลก คือ บริษัทระดับโลกจะเป็นธุรกิจระหว่างประเทศที่เล็งเห็นและมีความเข้าใจถึงความสำคัญของลักษณะความเหมือน (Similarities) และลักษณะความแตกต่าง (Differences) ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดโลก
2.5 บริษัทข้ามชาติ (Transnational Companies)
บริษัทข้ามชาติ คือ รูปแบบบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในตลาดระดับโลก โดยบริษัทข้ามชาติจะ
พยายามใช้ทรัพยากรส่วนต่างๆ ของโลกอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าและส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าทั่วโลก โดยบริษัทข้ามชาติจะพยายามมองหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด วิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุดหรือวิธีที่ได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด บริษัทข้ามชาติจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัฒกรรมใหม่ช่วยในการดำเนินงานและบริหารจัดการองค์กร โดยบริษัทข้ามชาติจะสร้างโรงงานผลิตหรือคลังสินค้าในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางที่เหมาะสมทั้งด้านปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ มีแรงงานที่มีคุณภาพ ค่าแรงงานถูก มีทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบเพียงพอ ตลอดจนระบบการขนส่งที่สะดวกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยเมื่อบริษัทข้ามชาติเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตหรือคลังสินค้าแล้ว บริษัทข้ามชาติจะใช้ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Technology Network) สำหรับการบริหารจัดการ การสั่งการ การควบคุม การประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุป ตลอดจนใช้เครือข่ายในการให้การติดต่อสื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทภายในประเทศที่ลูกค้าอยู่ แต่แท้จริงแล้วคำสั่งซื้อดังกล่าวอาจจะถูกส่งไปยังโรงงานผลิต คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า หรือศูนย์กลางของบริษัทข้ามชาติที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้ารายนั้นๆ ได้ดีที่สุด นอกจากนี้บริษัทข้ามชาติยังมีจุดเด่นตรงที่การจัดทรัพยากรในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ข้ามชาติ
3. แบ่งประเภทของธุรกิจระหว่างประเทศ ตามแนวความคิดทางการตลาดระหว่าง
ประเทศ แนวความคิดของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศมีอยู่ 4 แนวคิด ดังนี้
1.1 แนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติ (Ethnocentric)
แนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติเป็นลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทใน
ตลาดระหว่างประเทศที่มีความเป็นชาตินิยมสูง โดยบริษัทจะมีความเชื่อมั่นว่าประเทศของตนมีความสำคัญและอยู่เหนือกว่าประเทศอื่น ทำให้ธุรกิจที่ยึดถือแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาตินี้มทัศนคติที่ภาคภูมิในความเป็นชาติของตนเอง โดยธุรกิจจะมองความสำเร็จของตลาดภายในประเทศแล้วสรุปว่าสินค้าและวิธีการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดภายในประเทศจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศทุก ๆ แห่ง ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิใจในความเป็นชาติจะมีความเชื่อมั่นที่สูงกว่า ถ้าตลาดภายในประเทศยอมรับสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว ตลาดทั่วโลกก็จะยอมรับด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติจึงจะไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดและลักษณะความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบภาคภูมิในความเป็นชาติจะพัฒนาและผลิตสินค้าให้มีคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการและสามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น ธุรกิจจะไม่มีการทำวิจัยหรือพัฒนาเพื่อตอบสนองตลาดต่างประเทศ ธุรกิจไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ เพื่อตลาดระหว่างประเทศ ดังนั้นความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศจะไม่ถูกตอบสนองจากบริษัทที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติ
1.2 แนวความคิดแบบหลากหลายนิยม (Polycentric)
แนวความคิดแบบหลากหลายนิยมเป็นแนวความคิดที่มีลักษณะตรงข้ามกับแนวความคิด
แบบชาตินิยมอย่างสิ้นเชิง ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยมจะเชื่อว่าตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่งจะต้องมีความแตกต่างและมีความไม่เหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยม มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดที่แตกต่างกันไป ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบลากหลายนิยมจะต้องพยายามค้นหาความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดให้พบและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างนั้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความแตกต่างในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดให้ได้ ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยมจะเปิดโอกาสให้กับสาขาของธุรกิจแต่ละแห่งในตลาดระหว่างประเทศมีอิสระในการบริหารจัดการ โดยแต่ละสาขาสามารถวางกลยุทธ์และแผนการตลาดได้อย่างอิสระเพื่อตอบสนองความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่ง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบหลากหลายนิยมจะกระจายอำนาจการบริหารให้สาขาในแต่ละประเทศดำเนินกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในแต่ละตลาดธุรกิจที่มีความเชื่อแบบหลากหลายนิยม คือ บริษัทนานาชาติ
1.3 แนวคิดแบบภูมิภาคนิยม (Regiocentric)
แนวคิดแบบภูมิภาคนิยมเป็นแนวความคิดที่ธุรกิจ เชื่อว่าตลาดระหว่างประเทศทั่ว
โลกสามารถจะแบ่งกลุ่มทางการตลาดออกเป็นหมวดหมู่ได้ตามภูมิภาค โดยธุรกิจที่มีแนวคิดแบบภูมิภาคนิยมจะแบ่งตลาดระหว่างประเทศออกเป็นส่วนๆ หรือออกเป็นภูมิภาคโดยอาศัยความคล้ายคลึงแบบใดแบบหนึ่งในการจัดกลุ่ม เช่น การใช้สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นตัวแบ่ง ได้แก่ แบ่งเป็นกลุ่มตลาดทวีปยุโรป กลุ่มตลาดทวีปอเมริกาเหนือ กลุ่มตลาดทวีปเอเชีย เป็นต้น ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะความคล้ายคลึงและมีความเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ธุรกิจที่มีแนวคิดแบภูมิภาคนิยมจะใช้กลยุทธ์ และแผนการตลาดแบบเดียวกันในแต่ละภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค
1.4 แนวคิดแบบโลกานิยม (Geocentric)
แนวคิดแบบโลกานิยมเป็นแนวความคิดของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศที่มีความเชื่อว่า
ในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดจะมีทั้งลักษณะความแตกต่าง แนวคิดแบบโลกานิยมจะให้ความสำคัญกับลูกค้าทั่วโลกโดยธุรกิจจะพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งโลกให้ได้ไม่ว่าลูกค้านั้นจะอยู่ที่ใด แนวคิดแบบโลกานิยมเป็นแนวคิดที่รวมข้อดีของแนวคิดแบบชาตินิยมและแนวคิดแบบหลากหลายนิยมข้ไว้ด้วยกัน ดังนั้นธุรกิจระหว่างประเทศที่มีแนวคิดแบบโลกานิยมจึงพยายามทำความเข้าใจในลักษณะความเหมือนและลักษณะความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาด ธุรกิจที่มีแนวคิดแบบแนวคิดโลกานิยมจะสร้างกลยุทธ์ระดับโลก เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดระหว่างประเทศได้ทุกๆ ตลาดอย่างทั่วถึง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบโลกานิยมได้แก่ บริษัทระดับโลก และบริษัทข้ามชาติ

แนวความคิดของการตลาดระหว่างประเทศ โดยนาย ทศพล คำวังแคน 50132793003 A1

แนวความคิดของการตลาดระหว่างประเทศ
แนวความคิดทางด้านการตลาด (Marketing Concept) หมายถึง จุดเน้นทางการตลาดที่ธุรธิจนำมาพิจารณาใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ ทั้งนี้ แนวความคิดทางการตลาดจะเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา ตลอดจนสถานการณ์ทางการณ์ตลาดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ เป็นต้น ในอดีตแนวความคิดทางการตลาด มุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ การใช้ความพยายามในการปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือ กำไรจากยอดขาย
ปัจจุบันแนวความคิดทางการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการแข่งขันและปัจจัยต่างๆ จึงเป็นที่มาของแนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ มุ่งเน้นที่ผู้บริโภค โดยยึดหลักว่า “ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้เมื่อการตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้” ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงใช้ความพยายามในการจัดการส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix : 4 P’s) ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ มุ่งเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพอใจสูงสุด (Consumer Satisfaction) และสร้างกำไรให้แก่ธุรกิจ
แนวความคิดทางการตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing Concept) หมายถึงการทำตลาดของธุรกิจโดยมุ่งเน้นผู้บริโภคในตลาดระดับโลก ดังนั้น ธุรกิจต้องให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจ และการแข่งขันในตลาดระดับโลกเช่นกัน ขณะเดียวกันวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจก็จะเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ กำไรของธุรกิจจะต้องรวมถึงกำไรของผู้ถือหุ้น ความพอใจของพนักงานภายในองค์กร ลูกค้า สังคม และรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ ธุรกิจจะต้องมีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ได้อย่างเหมาะ



แนวความคิดทางการตลาด
จุดเน้นทางการตลาด
วัตถุประสงค์ทางการตลาด
วิธีทางการตลาด
แนวความคิดแบบเก่า
ผลิตภัณฑ์
กำไรจากยอดขาย
เน้นปริมาณการขาย
แนวความคิดแบบใหม่
ผู้บริโภค
กำไรจากความพอใจของลูกค้า
ส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม
แนวความคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้บริโภค, สภาพแวดล้อมทางการตลาด,การแข่งขัน
กำไรจากความพอใจของผู้ถือหุ้น, พนักงานองค์กร, ลูกค้า, สังคม และรัฐบาล
การบริหารพันธมิตร ตระหนักถึงคุณค่าที่ผู้บริโภคได้รับ

แนวความคิดทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ของตลาดระหว่างประเทศ

ในปี 1990 แนวความคิดทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เปลี่ยนจุดสนใจจากการตลาดมุ่งที่ผลิตภัณฑ์และผู้บริโภค มาสู่การตลาดมุ่งผู้บริโภค สภาพแวดล้อมภายนอก และการแข่งขัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสูง ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอดจนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดระหว่างประเทศ กำไรของธุรกิจจะต้องมาจากความพอใจของผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า สังคมและรัฐบาล วิธีการทางการตลาดมุ่งเน้นการจัดการพันธมิตร (Strategic Partnerships) และคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Customer Value)
คุณค่าในสายตาของลูกค้า (Customer Value) หมายถึง ผลประโยชน์ส่วนเกินที่ลูกค้าได้รับจากผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ลูกค้าจ่ายไปทั้งในรูปของตัวเงินและค่าเสียโอกาสต่างๆ ซึ่ง เรียกว่า ต้นทุน ผู้บริโภคได้รับความพอใจ สามารถแสดงได้โดยสมการ ดังนี้ (ประยุกต์จาก ศิริวรรณและคณะ ,2541)
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาว่าลูกค้าได้รับคุณค่าตามที่ต้องการหรือไม่นั้น จะพิจารณาจากความรู้สึกว่าคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้คำนวณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการตลาดยุคปัจจุบันต่างพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในสายตาของลูกค้า และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ไม่ว่าธุรกิจจะเป็นขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ตาม สามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจในหลักการข้างต้นนี้

วิวัฒนาการการตลาดระหว่างประเทศ โดยนาย ทศพล คำวังแคน 50132793003

วิวัฒนาการการตลาดระหว่างประเทศ
วิวัฒนาการการตลาดระหว่างประเทศมี 5 ขั้นตอน โดยวิวัฒนาการจะเริ่มจากธุรกิจภายในประเทศและพัฒนาไปเรื่อยๆ จนธุรกิจสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นธุรกิจระดับโลก
1. ระยะที่ธุรกิจดำเนินการในตลาดภายในประเทศ (Domestic Marketing)
การตลาดภายในประเทศเป็นระยะแรกเริ่มที่ธุรกิจดำเนินการทางตลาด โดยธุรกิจจะเริ่ม
จากตลาดภายในประเทศที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ ธุรกิจภายในประเทศจะใช้ข้อมูลจากตลาดภายในประเทศเท่านั้นในการตัดสินใจทางธุรกิจและวางกลยุทธ์ทางการตลาด เช่นข้อมูลความต้องการของลูกค้าภายในประเทศ แนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมภายในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศเป็นต้น คู่แข่งที่ธุรกิจภายในประเทศให้ความสำคัญนั้นจะเป็นคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดท้องถิ่นเดียวกันเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นธุรกิจท้องถิ่น หรือธุรกิจระหว่างประเทศที่เข้ามาในตลาดท้องถิ่น
2. ระยะที่ธุรกิจดำเนินการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ ( Export Marketing)
ระยะของการส่งออกจะเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจภายในประเทศได้ระยะหนึ่ง ธุรกิจก็อาจค้น
พบว่าในตลาดต่างประเทศ มีผู้บริโภคที่มีความต้องการใช้สินค้าที่ธุรกิจเป็นเจ้าของหรือสินค้าที่ธุรกิจผลิตด้วยเช่นเดียวกัน สินค้าที่ธุรกิจมีอาจจะสามารถตอบสนองความจำเป็นสามารถตอบสนองความต้องการ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคที่อยู่ในตลาดต่างประเทศได้ ดังนั้นธุรกิจภายในประเทศ จึงเริ่มการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังตลาดระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าถือว่าเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ การส่งออกเป็นวิธีการที่สะดวกและง่ายที่สุดในการเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ
3. ระยะการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ (Intertional Marketing)
ระยะการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศเป็นระยะการพัฒนาที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ธุรกิจได้ดำเนินการส่งออกสินค้าไปยังตลาดระหว่างประทศได้ซักระนะหนึ่งธุรกิจก็อาจประสบความสำเร็จโดยมียอดจำหน่ายที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากความสำเร็จ ธุรกิจอาจจะเริ่มประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทำให้การส่งออกสินค้าเกิดความไม่สะดวก ซึ่งอุปสรรคของการส่งออกได้แก่
-ความต้องการที่แตกต่างกันในรายละเอียดของสินค้าของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง สินค้าชนิดเดียวกันความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศอาจแตกต่างกัน
- ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
- ความแตกต่างของอัตราค่าขนส่งและอัตราภาษีศุลกากรของตลาดระหว่างประเทศ
- ความแตกต่างทางด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศ
- การกีดกันทางการค้าของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

อุปสรรคจากการส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดระหว่างประเทศเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินการทางการตลาดและอุปสรรคเหล่านี้สามรถบั่นทองความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ เช่น ทำให้ราคาของสินค้าแพงขึ้นและทำให้สินค้าเข้าไปจำหน่ายยังตลาดระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้น
ดังนั้นธุรกิจจำเป็นที่ต้องหาทางปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการทางการตลาดเพื่อหาทางแก้ไขและหาแนวทางหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคจากการส่งออกเพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศได้ดีขึ้นและยังสามารถครองความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ ด้วยการเลือกวิธีการอื่นๆ แทนการส่งออกซึ่งอาจจะช่วยให้ธุรกิจสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคดังกล่าวได้เช่น เลือกการจ้างผลิตหรือการตั้งฐานการผลิตในตลาดระหว่างประเทศแทนการส่งออกสินค้า
4. ระยะการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ (Multitional Marketing)
ระยะการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ เป็นขั้นตอนภายหลังจากที่ธุรกิจได้ดำเนินการในตลาด
ระหว่างประเทศได้ระยะหนึ่ง ธุรกิจก็จะมีการเรียนรู้และเข้าใจถึงลักษณพความคล้ายคลึงและลักษณะความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ธุรกิจระหว่างประเทศก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้จากลักษณะความเหมือนและจากลักษณะความแตกต่างดังกล่าว ด้วยการแบ่งกลุ่มทางการตลาดเดียวกัน ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างประโยชน์จากขนาด (Economic of Scale) และประโยชน์ความประหยัดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Economic of Space)
สำหรับความแตกต่างกันในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ธุรกิจนานาชาติจะปรับปรุงสินค้าและบริการ ตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับแต่ละตลาด ถ้าธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างประโยชน์จากความเหมือนที่แตกต่างและความแตกต่างที่เหมือนได้ก็แสดงได้ว่าธุรกิจได้พัฒนาสู่การเป็นธุรกิจนานาชาติ
5. ระยะการพัฒนาสู่ตลาดระดับโลก (Global Marketing)
ระยะการพัฒนาสู่ตลาดระดับโลกเป็นกระบวนการที่ธุรกิจพัฒนาสู่การดำเนินธุรกิจใน
ตลาดระหว่างประเทศลำดับสุดท้าย ธุรกิจที่สามารถพัฒนาสู่การเป็นธุรกิจในตลาดระดับโลกจะเป็นธุรกิจที่มีสาขากระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก ธุรกิจตลาดระดับโลกจะมีการดำเนินการทางการตลาดหลายตลาดแต่การดำเนินการต่างๆ ธุรกิจระดับโลกจะให้ความสำคัญกับตลาดโลกโดยรวม ซึ่งธุรกิจตลาดระดับโลกจะให้ความสำคัญกับปัจจัย ดังต่อไปนี้
- ธุรกิจระดับโลกจะมองตลาดโลกเป็นตลาดเดียวโดยจะให้ความสำคัญกับรายรับและต้นทุนรวมของธุรกิจ
- ธุรกิจตลาดระดับโลกจะพยายามลดต้นทุน พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดประสิทธิภาพและลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของแต่ละสาขาของธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก
- ธุรกิจระดับโลกจะแลกเปลี่ยนเคลื่อนย้ายสินค้า เคลื่อนย้ายทุน เคลื่อนย้ายเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนแนวความคิด ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ข้ามสาขาของธุรกิจที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วโลก
- ธุรกิจตลาดระดับโลกจะพยายามพัฒนาการให้บริการและตอบสนองความต้องการ ความจำเป็น และพยายามสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในทุกส่วนของตลาดโลก
- ธุรกิจตลาดระดับโลกจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารและเครือข่ายทางการตลาดระหว่างประเทศและเครือข่ายดังกล่าวเป็นตัวชี้นำการตัดสินใจหรือใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดระดับโลก

สาเหตุและแรงจูงใจของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ โดยนาย ทศพล คำวังแคน 50132793003

สาเหตุและแรงจูงใจของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
1. ตลาดในประเทศอิ่มตัว
ตลาดภายในประเทศอิ่มตัวเกิดจากสินค้าอยู่ในช่วงที่หมดความนิยม หรือเป็นสินค้าที่
ตลาดไม่ต้องการสินค้าชนิดนั้นอีกต่อไป ช่วงตลาดอิ่มตัวธุรกิจจะไม่สามารถขยายการจำหน่ายสินค้าและบริการในตลาดภายในประเทศได้ ตลาดที่อิ่มตัวนั้นจะเป็นตลาดที่ไม่มีอนาคตสำหรับสินค้าและบริการนั้นอีกต่อไป สาเหตุของตลาดอิ่มตัวเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สินค้าล้าสมัย ผู้บริโภคไม่ต้องการสินค้า มีสินค้าประเภทใหม่เข้ามาทดแทน สินค้าล้นตลาด เป็นต้น ซึ่งตลาดภายในประเทศอิ่มตัวเป็นสาเหตุและแรงจูงใจให้ธุรกิจจำเป็นต้องมองตลาดระหว่างประเทศ
2. สภาพการแข่งขัน
สภาพการแข่งขันเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องก้าวไปสู่ตลาดระหว่างประเทศนั้นมี
สาเหตุหลักอยู่ 2 ประการ
ประการที่ 1 ตลาดระหว่างประเทศอาจจะมีสภาพการแข่งขันที่มีความรุนแรงน้อยกว่าตลาดภายในประเทศ
ประการที่ 2 เป็นสาเหตุจากคู่แข่ง คู่แข่งจากตลาดต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดภายในประเทศจึงทำให้ธุรกิจภายในประเทศจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยการไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ และสาเหตุจากการแข่งขันอีกประการหนึ่งก็อาจจะเนื่องจากคู่แข่ง ก็คือ คู่แข่งเดิมที่แข่งขันกันอยู่ในตลาดภายในประเทศหันไปดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องดำเนินรอยตามคู่แข่งขันเพื่อไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในระหว่างประเทศ
3. ธุรกิจมีกำลังการผลิตที่มากเกินความจำเป็น
ธุรกิจในภาคการผลิตนั้น โดยทั่วไปธุรกิจต้องดำเนินการผลิตให้ถึงจุดที่ประหยัดที่สุด
เรียกว่า จุดกำลังการผลิตดุลยภาพ (Optimal Capacity) ซึ่งในบางครั้งจุดกำลังการผลิตดุลยภาพนั้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องผลิตสินค้าในปริมาณที่เกินกว่าต้องการของตลาดภายในประเทศ นอกจากนี้สำหรับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตได้ บางปีถ้าผลผลิตมากเกินความต้องการภายในประเทศ การส่งออกไปสู่ตลาดระหว่างประเทศอาจจะเป็นทางออกสำหรับปริมาณสินค้าที่มากเกินความต้องการของตลาดภายในประเทศ
4. ธุรกิจสามารถสร้างประโยชน์ในด้านสินค้า ด้านทักษะและด้านเทคโนโลยีได้มากกว่าคู่แข่งในตลาดระหว่างประเทศ
ในกรณีที่ธุรกิจมีความสามารถในการผลิตสินค้าได้ดีกว่าธุรกิจรายอื่นๆ ที่ครองตลาดระหว่างประเทศอยู่ ธุรกิจมีทักษะที่ดีกว่าในการผลิตสินค้า มีความสามารถในการให้บริการที่ดีกว่าคู่แข่งตลาดระหว่างประเทศ มีเทคโนโลยีในการผลิตที่สูงกว่าหรือธุรกิจสามารถผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่จำหน่ายอยู่ในตลาดระหว่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ คือ เหตุจูงใจให้ธุรกิจไปดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
5. ความแตกต่างของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของสินค้าแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในตลาดระหกว่างประเทศแต่ละแห่ง ซึ่งความแตกต่างของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดความแตกต่างทางด้านโอกาสทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศ เช่น ธุรกิจสามารถนำสินค้าจากตลาดภายในประเทศที่วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สิ้นสุดแล้วไปจำหน่ายยังตลาดที่มีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ยาวนานกว่า ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสายการผลิตและสามารถยืดเวลาการวิจัยพัฒนาสินค้าใหม่ นอกจากนี้ในตลาดระหว่างประเทศที่มีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แตกต่างกันจนทำให้ธุรกิจสามารถนำสินค้าที่ทันสมัยจากตลาดระหว่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในตลาดภายในประเทศ
6. ความหลากหลายของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
เนื่องจากข้อจำกัดทางสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ ทำให้ไม่มีธุรกิจใดในโลกที่สามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทุกอย่าง ความแตกต่างและหลากหลายทางกายภาพทำให้ธุรกิจที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของโลกมีข้อจำกัดในการผลิตสินค้า จากข้อจำกัดดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจต้องพยายามที่จะพัฒนาสินค้าที่ตนเองสามารถผลิตได้ให้ดีที่สุด และสร้างความได้เปรียบจากสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน เช่น บริษัทไวน์ประเทศฝรั่งเศสอาศัยความได้เปรียบจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกองุ่น ปริมาณองุ่นที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ องค์ความรู้ในการทำไวน์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวน์จนกลายเป็นจุดแข็งและมีชื่อเสียงในตลาดระหว่างประเทศ
7. เหตุผลทางด้านธุรกิจ
การตัดสินใจไปดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศบางครั้งเกิดขึ้นจากเหตุผลทางด้านธุรกิจ เช่นธุรกิจต้องการเรียนรู้ในตลาดระหว่างประเทศหรือธุรกิจต้องการใช้ตลาดระหว่างประเทศในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจและสินค้า เป็นต้น
8. เหตุผลทางด้านการเงิน
เหตุผลทางด้านการเงิน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจภายในประเทศก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากธุรกิจต้องการที่จะหารายได้จากตลาดต่างประเทศหรือในตลาดระหว่างประเทศมีแหล่งเงินทุนที่จูงใจมากกว่า

ปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดระหว่างประเทศ โดยนายทศพล คำวังแคน 50132793003

ปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดระหว่างประเทศ ( International Marketing) ประกอบด้วย
1. การค้นหา พิสูจน์ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ธุรกิจที่ต้องการจะดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศต้องค้นหา และวิจัยเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ หลังจากนั้นธุรกิจต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้าว่าธุรกิจมีความสามารถจะตอบสนองความต้องการนั้นหรือไม่ เพียงใด นอกจากนี้ธุรกิจจะต้องเข้าใจถึงลักษณะความเหมือนและลักษณะความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง รวมไปถึงธุรกิจต้องทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของตลาดระหว่างประเทศที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการทางการตลาดของธุรกิจ
2.สร้างความพึงพอใจและความพยายามในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
หลังจากที่ธุรกิจสามารถค้นพบความต้องการของผู้บริโภคที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศได้แล้วสิ่งที่ธุรกิจต้องดำเนินการก็คือ ธุรกิจจะต้องค้นหาว่าธุรกิจจะสร้างคุณค่าจากการผลิตสินค้าและบริการอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการโดยธุรกิจจะต้องดำเนินการปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาดอะไรบ้าง ตลอดจนธุรกิจจะวางแผนการตลาดเพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะไม่ลืมก็คือ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศนั้น ธุรกิจจะต้องสามารถสร้างผลกำไรได้ด้วยเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้
การปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างประเทศเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าธุรกิจสามารถเลือกกลยุทธ์ในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศได้หลายรูปแบบโดยธุรกิจจะต้องพิจารณาว่าการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศได้นอกจากนี้ธุรกิจจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเกื้อหนุนในการเลือกใช้กลยุทธ์ดังกล่าวด้วย ตลอดจนธุรกิจยังต้องพิจารณาด้วยว่ากลยุทธ์ทางการตลาดที่ธุรกิจเลือกใช้นั้นต้องเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจสามารถปฏิบัติได้จริงและกลยุทธ์นั้นต้องไม่ส่งผลทางลบต่อธุรกิจ
3. ขั้นตอนการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่ง
ภายหลังที่ธุรกิจตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ ธุรกิจจะต้องพบกับการ แข่งขันทางด้านการตลาดที่รุนแรง โดยธุรกิจจะต้องแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่นที่ดำเนินธุรกิจอยู่เดิม ซึ่งธุรกิจท้องถิ่นดังกล่าวอาจเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นธุรกิจที่มีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเจ้าของหรือเป็นธุรกิจที่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ธุรกิจยังต้องแข่งขันกับธุรกิจข้ามชาติอื่นๆ ที่ต้องการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งธุรกิจข้ามชาติเหล่านี้มักเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีความพร้อมและมีความแข็งแกร่ง ดังนั้นธุรกิจที่จะต้องการจะดำเนินการทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศต้องมีความพร้อมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
4 .ขั้นตอนการประสานงานการดำเนินการทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในตลาดระหว่างประเทศ
ธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ ธุรกิจจะต้องสามารถปรับการดำเนินการทางด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่นธุรกิจจะต้องมีการจัดองค์กรใหม่หรือจัดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ เนื่องจากในตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจจะต้องพบกับความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการด้านต่างๆ เช่นด้านการประสานงาน ด้านการบริหารงานของฝ่ายต่างๆ ด้านการทางการตลาด ด้านการคมนาคม ซึ่งความยุ่งและความซับซ้อนที่กล่าวมาจะทำให้ธุรกิจจะต้องมีการจัดองค์ประกอบให้มีความเหมาะสม เช่น ธุรกิจจำเป็นจะต้องมีสำนักงานขายในต่างประทศธุรกิจจำเป็นต้องมีฝ่ายต่างประเทศหรือธุรกิจอาจจำเป็นจะต้องสร้างสาขาในต่างประเทศ เป็นต้น โดยธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจะต้องเลือกรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและต้องเหมาะสมกับองค์ประกอบภายในธุรกิจด้วย
5. ขั้นตอนที่ธุรกิจต้องเรียนรู้และต้องทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ
ตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น ความแตกต่างทางด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความแตกต่างทางสภาพเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางการเมือง ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความแตกต่างของสภาพทางการตลาด ความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภค ความแตกต่างทางด้านปัจจัยพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและความแตกต่างของระบบการเงินการธนาคาร เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ธุรกิจระหว่างประเทศต้องเรียนรู้และสร้างความคุ้นเคยเพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดได้เหมาะสมและสามารถหลีกเลี่ยงการดำเนินการทางการตลาดที่ผิดพลาดซึ่งอาจจะส่งผลทางด้านลบต่อสินค้าและธุรกิจ

ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศ โดยนายทศพล คำวังแคน 50132793003

ความรู้พื้นฐานของการตลาดระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ

การตลาด คืออะไร
ทฤษฎีทางการตลาดในอดีตได้อธิบายความหมายของ การตลาด (Marketing) ว่าการตลาด คือ ความพยายามของธุรกิจที่จะจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับตลาดหรือให้กับผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันความหมายของการตลาด ได้พัฒนาจนมีความหมายที่กว้างขึ้นและมีขอบข่ายที่ซับซ้อนขึ้นกว่าความหมายของการตลาดในอดีต ดังที่ ฟิลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดได้ให้คำจำกัดความของการตลาดไว้ว่า การตลาด คือ กระบวนการทางสังคม การตลาดเป็นรูปแบบของการบริหารจัดการทั้งในส่วนของบุคคลและโดยองค์รวม การตลาดมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการและตอบสนองความจำเป็นของผู้บริโภคในตลาด ซึ่งผู้บริโภค คือบุคคลหรือเป็นองค์กรทางธุรกิจ ดังนั้นการตลาดจึงเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ และการตลาดเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนา เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ
การตลาดเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญขององค์กรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์กรที่แสวงหากำไร ดังนั้นหน้าที่ทางการตลาดจึงเป็นหน้าที่ที่มีรูปแบบการดำเนินการและมีแนวคิดทางด้านธุรกิจที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากส่วนงานอื่นๆ ในองค์กรธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากงานทางด้านการตลาดจะแตกต่างจากหน้าที่ฝ่ายการเงิน แตกต่างจากฝ่ายผลิตหรือแตกต่างจากฝ่ายอื่นๆ ในองค์กรธุรกิจหน้าที่ของฝ่ายการตลาดปัจจุบันคือ การประสานงานของทุกหน่วยงานและบุคลากรทั้งหมดในองค์กรธุรกิจเพื่อให้การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันกับที่ฝ่ายการตลาดต้องการ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือหน้าที่ทางการตลาดนั้นเป็นหน้าที่ของทุกๆหน่วยงานรวมถึงบุคลากรทุกคนในองค์กรธุรกิจต้องให้การสนับสนุนฝ่ายการตลาดโดยการร่วมมือกันสร้างมูลค่าเพิ่มและร่วมกันสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
จะเห็นได้ว่าการตลาดในยุคปัจจุบันจึงไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายการตลาดเพียงฝ่ายเดียวในการที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การตลาดเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กรธุรกิจและเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกๆ คนขององค์กรธุรกิจ ที่จะต้องสนับสนุนฝ่ายการตลาด ด้วยการร่วมมือกันสร้างคุณค่าร่วมมือกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ
ดังนั้น การตลาดในปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (The Value Chain)” ห่วงโซ่แห่งคุณค่า คือ ห่วงโซ่แห่งความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความพึงพอใจที่ธุรกิจพึงจะมอบให้แก่ลูกค้า ดังนั้น ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะไม่มีขอบเขตของการสร้างคุณค่า การสร้างคุณค่าถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน และทุกๆ ฝ่ายที่อยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าที่จะต้องร่วมกันสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่ม เพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาด




ความร่วมมือกันสร้างคุณค่าเพื่อจุดมุ่งหมายทางการตลาดจึงถูกเรียกว่า “ห่วงโซ่แห่งคุณค่าและการตลาดแบบไร้ขอบเขต” (The Value Chain and Boundary Less Marketing)
จากรูปห่วงโซ่แห่งคุณค่าซึ่งแสดงถึงความร่วมมือกันเพื่อสร้างคุณค่าแบบไร้ขอบเขตของฝ่ายต่างๆ ของธุรกิจ โดยห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะเริ่มจากเมื่อธุรกิจค้นพบความต้องการของลูกค้า ทุกฝ่ายในองค์กรธุรกิจต้องร่วมมือและช่วยกันสร้างคุณค่าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้และเมื่อสร้างคุณค่าได้แล้วธุรกิจก็นำเสนอคุณค่าต่อตลาดเพื่อเป็นทางเลือกทางการตลาดให้กับลูกค้า
ห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะเริ่มจากเมื่อธุรกิจค้นพบความต้องการของลูกค้า ธุรกิจก็จะนำความต้องการนั้นให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนา วิจัยและศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการ ถ้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาพบว่าธุรกิจมีความเป็นไปได้ ฝ่ายวิจัยก็จะนำผลการวิจัยส่งมอบต่อให้ฝ่ายวิศวกรรมเพื่อนำผลการวิจัยนั้นมาดำเนินการคิดค้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม จากนั้นฝ่ายวิศวกรรมก็จะส่งมอบให้ฝ่ายผลิตดำเนินการผลิตเป็นสินค้า ซึ่งเป็นคุณค่าที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าคุณค่าที่เกิดขึ้นจากห่วงโซ่แห่งคุณค่าอาจจะอยู่ในรูปสินค้าหรือบริการก็ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อธุรกิจสามารถสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แล้วก็เกิดคำถามตามมาดังต่อไปนี้
คำถามที่ 1 คุณค่าที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาในรูปสินค้าและบริการนั้นสามารถสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าภายในประเทศเท่านั้นหรือ?
คำถามที่ 2 คุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นมานั้นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้อง การ คุณค่าดังกล่าวมีอยู่เพียงแค่ในตลาดภายในประเทศเท่านั้นหรือ?
คำถามที่ 3 คุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นมานั้นจำเป็นต้องจำหน่ายเพียงตลาดภายในประเทศตลาดเดียวเท่านั้นหรือ?
ถ้าคำตอบของคำถามเหล่านั้น คือ “ไม่” ก็อาจจะมีความหมายว่ายังคงมีโอกาสและความเป็นได้ที่คุณค่า (สินค้าและบริการ) ที่ธุรกิจสร้างขึ้นจากห่วงโซ่แห่งคุณค่านั้นมีแนวโน้มมีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจ และตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในตลาดต่างประเทศดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจจะหาหนทางที่จะนำคุณค่าดังกล่าว ไปตอบสนองความต้องการตอบสนองความจำเป็นและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่อยู่ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “ การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) “

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
ดังนั้นนักการตลาดที่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาดระหว่างประเทศจึงควรตอบคำถามพื้นฐานดังต่อไปนี้ ก่อนจะดำเนินการใดๆ ในตลาดระหว่างประเทศ
1.ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้คุณค่าที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาในรูปของสินค้าหรือบริการสามารถนำเสนอต่อตลาดระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
2. ธุรกิจต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อตลาดระหว่างประเทศ
3. อุปสรรคและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในตลาดระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
4. ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไรที่จะเปลี่ยนอุปสรรคในตลาดระหว่างประเทศให้เป็นโอกาส
5. กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับตลาดระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง

คำศัพย์ที่นิยมใช้ การตลาดระหว่างประเทศ โดยนายทศพล คำวังแคน

การตลาดระหว่างประเทศ
Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ
ระยะนี้ ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ โดยจะมีการศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และ การวางแผนในการทำธุรกิจ เช่น
-การหาข้อมูลความต้องการจากลูกค้าภายในประเทศ
-แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ
-แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของตลาดในประเทศ
-การพัฒนาเทคโนโลยี และ สภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศ
ทั้งนี้ การศึกษาคู่แข่ง ก็ควรศึกษาคู่แข่งจากภายในประเทศ โดยวิเคราะห์คู่แข่งออกมาด้วย เพื่อจะได้รู้ทิศทางการตั้งรับ หรือ จู่โจมทางการต่อสู้ ซึ่งคู่แข่ง ใน Domestic Marketing นี้ คือคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ซึ่งอาจมาได้จาก คู่แข่งในประเทศ หรือ คู่แข่งจากตลาดระหว่างประเทศ ที่เข้ามาในท้องถิ่นนั้นๆ
Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่า ตลาดที่ทำอยู่ มีความแคบลง หรือ คู่แข่งมีมาก หรือ พอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่นๆ และ อาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง
ดังนั้นเลยเป็นที่มาของการส่งออก วิธีนี้ ต้องเน้นไปที่การตอบสนองความพอใจของลูกค้า และ สร้างความพึงพอใจของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ การส่งออกนี้ ถือว่าเป็น ขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนน้อย และง่ายที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจระหว่างประเทศ International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
-ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
-ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
-ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
-การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่งปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
-เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
-ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น
วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
-เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่ พัฒนามาอีกขั้น จาก International Marketing คือเมื่อรับรู้ และ เข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือ ความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้ เช่น
-ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากขนาด Economic of Scale
-ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากการประหยัดทรัพยากรร่วมกัน Economic of scope
Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก ระยะนี้ เป็นระยะ ที่มีแนวความคิด ที่ได้เปรียบมาก จากเริ่องของทรัพยากร เช่น ต้นทุน และ มีการบริการการจัดการ แบบรวมอำนาจ คือ มีการตั้งบริษัทแม่ แล้ว มีเครือข่าย สาขา ขยายออกไปทั่วโลก ระยะนี้ จะให้ความสำคัญกับ
-มองตลาดโลก เป็นตลาดแห่งเดียว
-พยายามลดต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่าย การทำงานที่ซ้ำซ้อนลง ของแต่ละสาขาทั่วโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
-จะมีการเปลี่ยนแนวความคิด และมีการ แลกเปลี่ยน เคลื่อนย้าย ทุน แรงงาน สินค้า เทคโนโลยี ข้ามสาขากันทั่วโลก
-จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางการติดต่อสื่อสาร และ เครือข่ายทางการตลาดระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก
Gross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
GNP สามารถคิดได้อีกแบบ หนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือ ธุรกิจของประเทศนั้นๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ ของชาวต่างชาติ Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงมากๆ

ค้นจาก http://blog.spu.ac.th/print.php?id=3380

ข่าวการตลาดระหว่างประเทศ ประชาสัมพันธ์โดยนายทศพล คำวังแคน

ตลาดระหว่างประเทศ ข่าวประชาสัมพันธ์ตลาดระหว่างประเทศ ข่าวประชาสัมพันธ์ www.newswit.com

"ค้าปลีก ทีวี ไดเร็ค สวนกระแส รุกตลาดเปิดสาขาทั่วประเทศ เสริมทัพเคมเปญใหญ่คืนกำไรลูกค้า ตั้งเป้าปีหนูโต 15 เปอร์เซ็นต์"
Wednesday, 20 February 2008 04:15 -- ธุรกิจ/สินค้า
ไดเร็คทูยู ร้านค้าปลีกในเครือ ทีวี ไดเร็ค โตสวนกระแสเศรษฐกิจปี 50 จัดเคมเปญคืนกำไรลูกค้าดันยอดปลายปี 5 เปอร์เซ็นต์ พร้อมรุกคืบขยายสาขาทั่วประเทศควบคู่แคมเปญความงามเอาใจลูกค้า ตั้งเป้าปีหนูยอดโตต่อเนื่อง 15 เปอร์เซ็นต์
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
นางสาวนิตยา พิศลยบุตร ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มงานขายปลีก-ส่งและตลาดระหว่างประเทศ บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจในปี 50 ที่ผ่านมาจะทำให้สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ในภาวะซบเซา แต่ในส่วนของร้านไดเร็คทูยู แหล่งรวมสรรพสินค้าและนวัตกรรมบนทีวี ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกในเครือ ทีวี ไดเร็ค ยังสามารถประคองตัวอยู่ได้และยังเติบโตขึ้นอีก 5 เปอร์เซ็นต์
“ ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่โรงเรียนใกล้เปิดเทอมประชาชนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายเงินบวกภาวะเศรษฐกิจซบเซาลงส่งผลให้ยอดขายตกไป 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ในไตรมาสที่ 3 เราสามารถเรียกยอดคืนได้ด้วยการเสนอช่องทางผ่อนชำระสินค้าและจัดเวิร์กชอป พร้อมกับเสริมทัพด้วยการจัดกิจกรรม Lucky2U ให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้ากับร้านไดเร็คทูยู ได้มีโอกาสลุ้นรับของรางวัลมากมายมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท เพื่อคืนกำไรให้กับลูกค้าผู้มีอุปการคุณ พร้อมกันนี้ยังได้รุกตลาดขยายสาขาบนพื้นที่ของรถไฟฟ้าบีทีเอสอีก 3 สาขา ได้แก่ สถานีพร้อมพงษ์ ชิดลม และสนามกีฬา ทดลองเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ช่วยกระตุ้นยอดขายขึ้นมาอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ยอดขายทั้งปีปิดบวกอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์”
นอกจากนี้ นางสาวนิตยา ยังได้เปิดเผยกลยุทธ์การตลาดของร้านไดเร็คทูยู ช่วงครึ่งปีแรก ในปี 2551 นี้ ว่า ได้ตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจ 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ โดยได้เตรียมขยายสาขาเพิ่มในช่วงกลางปี เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั่วประเทศ พร้อมจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
“ปีนี้เราเตรียมกิจกรรมทางการตลาดไว้หลายอย่าง ที่สำคัญ คือ การขยายสาขาเพิ่มในอีก 4 จังหวัดคือ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา และสุราษฎร์ธานี หลังจากที่ได้ส่งกองคาราวานสินค้าสำรวจความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสนับสนุนฐานข้อมูลกว่า 50,000 รายชื่อ ที่ซื้อสินค้าจากเรา นอกจากนี้ เรายังได้แคมเปญใหญ่เกี่ยวกับความงาม เพื่อต่อยอดกระแสความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรม และคืนกำไรให้กับผู้มีอุปการคุณกับไดเร็คทูยูตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง 70 เปอร์เซ็นต์จะเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยแล้วในหนึ่งสาขาจะมีฐานข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 1,000 ถึง 2,000 ราย โดยเราจะใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้สำหรับโทรออกเพื่อบริการหลังการขายและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ซึ่งเป็นการสานความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าของเรา ดังจะเห็นได้จากกิจกรรม Lucky2U ที่จัดขึ้นในช่วงปลายปี 50 ที่มีลูกค้าส่งคูปองร่วมลุ้นรางวัลมากถึง 16,800 ใบ เพียงแค่ระยะเวลา 2 เดือน ส่วนใหญ่จะเป็นรายชื่อที่มีการซื้อสินค้าซ้ำหมายถึงการตอบรับที่ดีในด้านความพึงพอใจทั้งสินค้าและบริการ นอกจากนี้เรายังให้สาขาต่างๆจัดสาธิตสินค้าตลอดทั้งปี เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสสัมผัสสินค้าอย่างใกล้ชิดและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น”
นางสาวนิตยา ยังได้กล่าวถึง เทรนด์สินค้าของร้านไดเร็คทูยูว่า ปัจจุบันสินค้าภายในร้านมีอยู่ประมาณ 120 รายการ โดยเทรนด์ในปีนี้ยังคงเน้นสินค้าที่เกี่ยวกับสรีระรูปร่างและความสวยความ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
“สินค้ากว่าร้อยรายการของเราแบ่งเป็นสินค้าโฆษณาทางทีวี 60 เปอร์เซ็นต์ อีก 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นสินค้านวัตกรรมและสินค้าโอทอป เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีอายุ 27 ปีขึ้นไป ที่มีกำลังซื้อและใส่ใจต่อการดูแลความสวยความงาม ดังนั้นเราจึงพยายามคัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ให้มากที่สุด เช่น สินค้าใหม่อย่างชุดชั้นในที่เน้นสรีระให้ดูอวบอิ่มและเน้นฟังก์ชั่นการดีไซน์ที่สวยงามอีกด้วย อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ทิ้งสินค้านวัตกรรมเชิงสุขภาพ อาทิ เก้าอี้นวดผ่อนคลาย Welness รุ่นล่าสุดที่นอกจากจะยังคงฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของร่างกายแล้วก็ยังเสริมเทคโนโลยีการฟังเพลงที่ทันสมัย และมั่นใจว่าจะต้องถูกใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างแน่นอน”
รายละเอียดเพิ่มเติม บ.ทีวี ไดเร็ค จำกัด รติกร อิศรกุล โทร 08 -1303-5374
ขวัญเรือน เอมโอษฐ โทร. 08 -1827-8189
Back to February 20, 2008 Headlines

ข่าวกร

ข่าวที่เกี่ยวกับข้อมูลการตลาดระหว่างประเทศ1

เรื่องระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2)) ได้สร้างรากฐานให้กับยุคใหม่ของการใช้ อาร์เอฟไอดีในระบบซัพพลายเชน เจน 2 ได้ก่อตั้งอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นทางเลือกของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้กับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรด้านการค้าของเขาด้วย และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่า เจน 2 เป็นจุดเริ่มต้น แต่ไม่ใช่จุดจบของนวัตกรรมด้านซัพพลายเชนที่เป็นอาร์เอฟไอดี มันอาจเป็นเรื่องที่ประหลาดใจที่ว่า มีความแตกต่างที่สำคัญด้านประสิทธิภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่รองรับกับเจน 2
เจน 2 สร้างแพลทฟอร์มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และระบบในอาร์เอฟไอดีที่จะปรับปรุงการจัดการด้านการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ (Inventory),ระบบลอจิสติกส์ รวมถึงการดำเนินงานด้านค้าปลีกทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน บริษัทต่างๆจะต้องการข้อมูลที่คล้ายคลึงกันเหมือนกับคู่แข่งของเขา รวมถึงการเปรียบเทียบในเรื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่สภาพแวดล้อมด้านการใช้งานจะเป็นอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นมาตรฐานหรือเหมือนกัน เจน 2 หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแบบใดก็ตาม จะไม่ให้ประสิทธิภาพเหมือนกันเสียทีเดียวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 2 แบบ และนี่เองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เจน 2 ระบุรายละเอียด และลำดับของประสิทธิภาพ ที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ เจน 2 ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยความเข้าใจ ในรายละเอียดเรื่องประสิทธิภาพของเจน 2 และคุณสมบัติที่แตกต่าง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพแท้จริง ผู้ใช้สามารถระบุระบบ เจน 2 ที่ให้ฟังก์ชั่นและประโยชน์ตามที่ต้องการ
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการนำ เทคโนโลยี เจน 2 อาร์เอฟไอดีมาใช้ ประกอบด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพ, ความน่าเชื่อถือ, ลำดับ, ความปลอดภัย และราคา
ความเร็ว
พื้นฐานของผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก คือ ความสามารถในการอ่านแถบป้าย (tags) อาร์เอฟไอดีอย่างรวดเร็วและทันทีทันใด ความต้องการในเรื่องความเร็วของเจน 2 ถูกพัฒนาและแก้ไขให้ดีขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้เทคโนโลยี รุ่นที่ 1 หรือ เจน 1 ความสามารถในการระบุและจำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยความเร็วของระบบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดลำดับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดจำหน่าย และการบริหารการจัดเก็บสินค้า
ทั้งนี้ ไม่มีระบุความเร็วที่ตายตัวหรือจำกัดในมาตรฐานเจน 2 เพราะว่าการอ่านความเร็วขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ได้แก่ กำลังของไฟฟ้า, ความจุของแถบป้าย และสภาพแวดล้อมของอาร์เอฟ คุณสมบัติเฉพาะด้านเทคนิคของเจน 2 ควรให้เครื่องอ่านสามารถอ่านแถบป้ายกว่า 1,500 แถบป้าย ต่อวินาทีในตลาดอเมริกาเหนือ และ อ่าน 600 ครั้งต่อวินาทีในยุโรป ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความถี่และไฟฟ้ามากกว่า
คุณสมบัติเฉพาะของเจน 2 สนับสนุน “การเลือกแบบกลุ่ม” ที่ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญในการอ่านและจัดลำดับข้อมูลความเร็วสูง ช่วยให้ RFID interrogators หรือเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ค้นหาและอ่านกลุ่มแถบป้ายที่เลือก (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของข้อมูล) และไม่สนใจกับส่วนอื่น และยังช่วยลดจำนวนข้อมูลที่ระบบต้องประมวลผลเพื่อการอ่านเร็วขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ของคุณสมบัติเจน 2 ที่เรียกว่า “ persistence” ทำให้แถบป้ายมีความสามารถในการจำสถานะ หากเข้าถึงข้อมูลผิดพลาดจากเครื่องอ่าน และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการอ่านครั้งใหญ่ โดยเฉพาะแผ่นแถบป้ายจำนวนมาก
ประสิทธิภาพช่วงความถี่ (Bandwidth)
ช่วงความถี่ของการสื่อสารไร้สาย มีข้อจำกัด มีการกำกับขั้นสูง และต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ เจน2 สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และให้ลำดับ, ความเร็ว และประสิทธิภาพอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับความต้องการของแอพพลิเคชั่นด้านซัพพลายเชนที่กำหนดโดยผู้ใช้ ซึ่งทำให้ชนะอุปสรรคในเรื่องของการติดตั้งระบบเจนเนอเรชั่นที่ 1 ที่พัฒนาภายใต้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลคลื่นวิทยุของสหรัฐ (U.S Federal Communication Commission: FCC) โดยข้อกำหนดนี้ ไม่ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาลทั่วโลก และต้องการใบอนุญาตสำหรับผู้ใช้งานในโลก
มาตรฐาน เจน 2 นี้ ช่วยผู้ใช้ได้รับความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้ประโยชน์ช่วงความถี่ ประสิทธิภาพของระบบ สามารถใช้งานอยู่บนจำนวนของอุปกรณ์อาร์เอฟที่ทำงาน มาตรฐานนี้ได้แบ่งการทำงานของผลิตภัณฑ์ เจน 2 เป็น 3 โหมด คือ เครื่องอ่านเดี่ยว(single reader) และเครื่องอ่านหลายระบบ (multi-reader) และเครื่องอ่านแบบหนาแน่น (dense reader) คุณสมบัติในแต่ละโหมด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานปกติ
คุณสมบัติของโหมดเครื่องอ่านเดี่ยว เพื่อการติดตั้งระบบที่มีหนึ่งผู้ดูแลระบบต่อหนึ่งเครื่องอ่าน (interrogators) อาร์เอฟไอดี ต่อเครื่อง โดยระบบนี้ จะมีประสิทธิภาพในระดับน่าพอใจ แต่หากมีระบบที่มีการใช้งาน อาร์เอฟอยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการรบกวน
ผลิตภัณฑ์แบบการอ่านแบบกลุ่ม ใช้งานในระบบอาร์เอฟได้ดีกว่า รวมถึงมีการใช้งานย่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงมีการจัดการเรื่องของการส่งผ่านสัญญานได้ดีกว่า โดยจะสามารถดำเนินการในสภาวะการอ่านผลิตภัณฑ์ต่อครั้ง โดยไม่แสดงปัญหาให้เห็น
ส่วนการอ่านแบบหนาแน่น จะใช้งานในสภาวะการใช้งานในการอ่านผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 ชิ้น อย่างศูนย์การกระจายผลิตภัณฑ์และโรงงานที่มีการใช้งานระบบอาร์เอฟไอดี ถือเป็นทางเลือกที่รวดเร็วที่สุดในการติดตั้งอุปกรณ์ อีพีซี และมีการใช้งานย่านความถี่แบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และป้องกันสิ่งรบกวนต่างๆ
ความน่าเชื่อถือ
มาตรฐาน เจน 2 ยังรวมถึงข้อกำหนดที่มีการปรับปรุงจากยุคที่ 1 ทำให้การแสดงผลด้านการอ่านมีความน่าชื่อถือมากขึ้น และยังมีทางในการติดตั้งมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงการเชื่อมโยงข้อมูลและความน่าเชื่อถือของเครือข่าย
ตัวเลข อีพีซี รูปแบบข้อมูล ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในการจำแนกการอ่านข้อมูลและการเขียนบนแถบป้าย มาตรฐานการอ่านเจน 2 จะเปลี่ยนการอ่านข้อมูลจากผู้อ่าน (เหมือนในเจน 1) สู่การต่อเชื่อมที่จะทำให้ปฏิบัติการได้เร็วขึ้น
เจน 2 ยังเพิ่มในส่วนของการป้องกันของการอ่านผิด หรือที่เรียกว่า แถบป้ายผี ที่จะมีการบันทึกเมื่อมีการข้อมูลจากแถบป้ายที่แตกต่าง รวมถึงแปลงเป็นเป็นการจำแนกแบบกรอ่านเดี่ยว.
นอกจากนั้นแล้ว แถบป้ายของ เจน 2 ยังคงแสดงข้อมูลที่เขียนในแถบป้าย ผู้ใช้ในเทคโนโลยีในยุคที่ 1 จะเคยพบข้อมูลที่ผิดพลาด และทำให้การพิสูจน์ ความต้องการ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือของมาตรฐาน เจน 2
ย่าน ความถี่
ความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ข้อระบุของมาตรฐาน จะเป็นตัวชี้นำย่านที่ต้องการใช้สำหรับระบบอีพีซีของเจน 2 เจน 2 ช่วยให้การส่งผ่านย่านความถี่สเปคตรัมแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่านสื่อหลากรูปแบบ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานความถี่ และช่วยให้มีการปรับปรุงย่านสำหรับเทคนิคการส่งสัญญาน
ระบบรักษาความปลอดภัย
แถบป้าย มาตรฐานอีพีซี ได้รับการป้องกันในเรื่องของรบกวน โปรโตคอลของมาตรฐานรวมถึงการเข้ารหัส และการใช้งานแถบป้าย และผู้อ่านในการสร้างระบบความปลอดภัยก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่ง ซึ่งทำให้ยากในการปรับเปลี่ยนเลขหมายอีพีซี
ในบางอุตสากรรมที่รวมถึง ค้าปลีกและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทำให้แถบป้ายใช้งานไม่ได้ เพื่อข้อมูลจะไม่สามารถต่อเชื่อมได้ และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าก็จะไม่ตั้งเป้าและยังมีการรองรับมาตรฐานในความต้องการของลูกค้า เพื่อป้องกันป้านที่ไม่ได้รับการรองรับหรือ ใช้งานไม่ได้
เจน 2 ยังสนับสนุน “cloaking” ที่ช่วยให้แถบป้ายที่ตั้งให้สามารถสื่อสารกับผู้อ่านที่ได้รับอนุญาติโดยผู้อ่านจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนที่แถบป้ายจะมีการสื่อสารต่างๆ และรหัสผ่านยังเป็นที่ต้องการสำหรับการเขียนแถบป้าย หรือทำให้ชำรุดเพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัยมากขึ้น
ต้นทุน
หนึ่งในแรงบันดาลใจในการพัฒนาระบบอีพีซี คือ การสร้างเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องต้นทุนสำหรับการดำเนินงานในเรื่องซัพพลายเชน เป้าหมายในเรื่องนี้ได้มุ่งไปที่เรื่องของการทำข้อกำหนด ที่ช่วยต้นทุนในการผลิตชิพและอุปกรณ์ถูกลงผู้ใช้กลุ่มแรกที่มีการใช้งานกับ อีพีซีในยุคที่ 1 ได้เปิดเผยว่า การออกแบบแบบต้นทุนต่ำนั้น มีข้อจำกัดในการใช้งานจริง รวมถึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยของข้อมูล, รวมถึงน่านความถี่ มาตรฐานยุคที 2 ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษในการสร้างความพอใจและความกังวลของลูกค้า
มูลค่า ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่าต้นทุน แต่ใช่เรื่อง่ายในการเปรียบเทียบในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีในเรื่องฟังก์ชั่นที่ต้องการของระบบ
มาตรฐาน อีพีซี เจน 2 ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเรื่องต้นทุนและฟังก์ชั่นที่จะนำไปสู่เรื่องของการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าในเรื่องต้นทุน ซึ่งเป้ฯสิ่งที่ต้องการสำหรับการใช้งานจริง
Intermec Intellitag Gen 2 RFID systems.
จากประวัติการมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่อง RFID รวมถึงติดตามอย่างใกล้ชิดในเรื่องการพัฒนามาตรฐานระดับโลก อีพีซี ซึ่งอินเตอร์เม็คมีลักษณะที่คล้ายกับมาตรฐานเจน 2 ความแตกต่างว่าจะติดตั้งอย่างไร และเรื่องการแสดงผลเมื่อมีการใช้งานจริง
ระบบ Intellitag เจน 2 ได้รับการออกแบบให้เหนือข้อจำกัด ในพื้นฐานของมาตรฐานเจน 2 เพื่อช่วยให้เกิด การแสดงผลขั้นสูง ฟีเจอร์การทำงานหลายแบบที่รองรับมาตรฐาน เจน 2 เป็นมาตรฐานที่มีผลิตภัณฑ์ Intellitag. ระบบอาร์เอฟไอดี Intellitag ของ อินเตอร์เม็ค นำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในมาตรฐานเจน 2 การทำงานของผู้อ่านแบบหนาแน่น ,การจำแนกการเขียน,ความทนทาน, ย่านความถี่, การป้องกันการเขียน รวมถึงฟังก์ชั่นการทำลายแถบป้าย
อินเตอรเม็คยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องฟีเจอร์ที่ไม่จับคู่กัน ในผลิตภัณฑ์ เจน 2 โดยได้มีสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้นำในทุกเซกเมนต์ สำหรับอุตสาหกรรม อาร์เอฟไอดี จากผู้ผลิตชิพถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการผสาน ความสัมพันธ์นี้ รวมถึงข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ช่วยให้อินเตอร์เม็ค และพันธมิตร นำเสนอระบบที่มีจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Intellitag.
โดยความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างในการแสดงผล, ความน่าเชื่อถือ และลดการใช้ในมาตรฐานที่แตกต่าง การร้องเรียนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต ผู้ใช้เจน 2 จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างพื้นฐานในแอพลิเคชั่น สิ่งทีสำคัญที่สุดในการจำเรื่อง อีพีซี เทคโนโลยี เจน 2 คือ มาตรฐานไม่ได้หมายถึง การเทียบเท่า
สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร. 02-439-4600 ต่อ 8300
อีเมล์ srisuput@corepeak.com
Back to July 14, 2006 Headlines